แบ่งโล่ที่สำคัญ ของ การแบ่งโล่ (มุทราศาสตร์)

ลักษณะตัวอย่างBlazon / นิยาม และ คำอธิบาย
แบ่งขวาง (parted per fess หรือ party per fess) - แบ่งครึ่งตามแนวนอน เช่นที่ปรากฏบนตราของ Apchat ในฝรั่งเศส
แบ่งตั้ง (party per pale) - แบ่งครึ่งตามแนวตั้ง เช่นที่ปรากฏบนตราของ Brest ในฝรั่งเศส
แบ่งทแยง (party per bend) - แบ่งเป็นสองส่วนตามแนวทแยงจากมุมซ้ายบนลงมายังมุมขวาล่าง เช่นที่ปรากฏบนตราของ Barruera ในสเปน
แบ่งทแยงขวา (party per bend sinister) - แบ่งครึ่งตามแนวทแยงจากมุมซ้ายล่างขึ้นไปยังมุมขวาบน เช่นที่ปรากฏบนตราของ Tyrgils Knutsson
แบ่งกางเขนไขว้ (party per saltire) - แบ่งเป็นสี่ส่วนตามแนวทแยงทั้งจากซ้ายและขวา เช่นที่ปรากฏบนตราของ Leudeville ในฝรั่งเศส
แบ่งกางเขน (party per cross หรือ quarterly) - แบ่งเป็นสี่ส่วนตามแนวตั้งและแนวนอน เช่นที่ปรากฏบนตราของ Corrèze ในฝรั่งเศส
แบ่งจั่ว (party per chevron) - แบ่งตามลักษณะจั่ว เช่นที่ปรากฏบนตราของมาร์ค ฟิลลิปส์
แบ่งวาย (party per pall) - แบ่งตามลักษณะรูปตัว “Y” เช่นที่ปรากฏบนตราของ Ménitré ในฝรั่งเศส

ตามปกติแล้วพื้นตราไม่อาจจะแบ่งได้ตาม “per bordure” (แบ่งขอบ) ได้ หรือตาม “per chief” (แบ่งบน) หรือแบ่ง “เครื่องหมาย” (Charge) แต่ก็มีข้อยกเว้น ที่บันทึกในสำนักงานทะเบียนตราอาร์มของทั้งสกอตแลนด์และแคนาดาที่มีการแบ่งทั้งพื้นตราและขอบโล่ตาม “per chief” ที่บันทึกครั้งแรกในปี ค.ศ. 1677[1]

โล่อาจจะแบ่งเป็นสามส่วนตามนิยาม “tierced” เช่น “tierced per pall” หรือ “แบ่งวาย” หรือถ้าคว่ำ “Y” ก็จะเป็น “tierced per pall reversed” หรือ “แบ่งวายคว่ำ”

แหล่งที่มา

WikiPedia: การแบ่งโล่ (มุทราศาสตร์) http://commons.wikimedia.org/wiki/File:Joutsa.vaak... http://commons.wikimedia.org/wiki/File:Karvia.vaak... http://commons.wikimedia.org/wiki/File:Outokumpu.v... http://commons.wikimedia.org/wiki/File:Puolanka.va... http://commons.wikimedia.org/wiki/File:Pylk%C3%B6n... http://commons.wikimedia.org/wiki/File:Rautj%C3%A4... http://commons.wikimedia.org/wiki/File:Siipyy.vaak... http://commons.wikimedia.org/wiki/File:Taivalkoski... http://commons.wikimedia.org/wiki/File:Varpaisj%C3... http://commons.wikimedia.org/wiki/File:Yl%C3%A4maa...